โดยสกุลที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ Brookesia และ Rhampholeon มีความยาวของลำตัว 2.5-5.5 เซนติเมตร และสกุล Chamaeleo มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุดโดยมีความยาวของลำตัว 7-63 เซนติเมตร ทุกสกุลทุกชนิดมีสีสันลำตัวสดใสสวยงามทั้ง เหลือง, เขียว, ฟ้า หรือแดง ยกเส้นสกุล Brookesia ที่มีสีลำตัวคล้ำ อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและส่วนมากอาศัยและหากินบนต้นไม้ แต่ในสกุล Brookesia มีหางสั้นจะอาศัยบนพื้นดิน ออกหากินในเวลากลางวันและกินแมลงเป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินนกได้ โดยพบเป็นซากในกระเพาะของชนิดที่มีขนาดใหญ่ คือTrioceros melleri และ Chamaeleo oustaleti เป็นต้น ขยายพันธุ์โดนการวางไข่ แต่สกุล Bradypodion และบางชนิดในสกุล Chamaeleo ตกลูกเป็นตัว จำนวนไข่และจำนวนลูกสัมพันธ์กับขนาดตัว
โดยปกติแล้ว กิ้งก่า คามิเลี่ยน จะอาศัยตามหมู่เกาะต่าง ๆ ที่มีสภาพป่าโปร่งที่สมบูรณ์ และมักจะอาศัยอยู่บนต้นไม้ เกาะตามกิ่งไม้ ยอดไม้นิ่ง ๆ ด้วยเท้าที่สามารถเกาะกิ่งก้านของต้นไม้ได้อย่างดี น้อยครั้งที่จะพบเห็น กิ้งก่า คามิเลี่ยน อาศัยตามพื้นดิน นอกเสียจากจะลงมาวางไข่เพื่อขยายพันธุ์ โดยจะใช้เท้าขุดดินลงไปให้ลึกพอสมควร แล้วจึงวางไข่ลงไปในนั้น จนสุดท้ายก็กลบปากรูเอาไว้ และกลับขึ้นมาอาศัยอยู่บนต้นไม้ตามเดิม
นอกจากคุณสมบัติเด่นในเรื่องของสีสันอันฉูดฉาดของ กิ้งก่า คามิเลี่ยน ที่มีมีหลากหลายสี เช่น แดง ฟ้า เขียว เหลือง ส้ม น้ำตาล หรือดำ ฯลฯ แล้ว กิ้งก่า คามิเลี่ยน ยังมีจุดเด่นที่ดวงตากลมโตของมันนูนเป็นวงกลมโต มีเปลือกตาขนาดใหญ่ หนาเป็นชั้น ปิดลูกตา กลอกกลิ้งเหลือบมองไปมาได้รอบทิศทาง
ว่ากันว่า ยามที่เจ้า กิ้งก่า คามิเลี่ยน ขยับตัวต้องจับตาดูไว้ให้ดี ๆ เพราะฝีมือในการพรางตัวของมันช่างเยี่ยมยอดนัก ทว่ามันก็เป็น จอมเชื่องช้าตัวยง เพราะยามที่ คาเมเลี่ยน ออกเดินจะเชื่องช้ามากถึงมากที่สุด เพราะยามที่ คาเมเลี่ยน ย่างสามขุมออกเดิน มันจะยกขาก้าวไปค้างอยู่ในอากาศก่อนหนึ่งจังหวะ จากนั้นจึงค่อยกรอกตากลม ๆ ไปมารอบทิศทาง ประหนึ่งว่ากำลังระวังภัยเต็มที่ ก่อนที่จะก้าวสัมผัสกับเป้าหมายในในจังหวะต่อไป
ลักษณะทั่วไปของ กิ้งก่า คามิเลี่ยน
![](http://img.kapook.com/image/icon/yellow%20star.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/yellow%20star.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/yellow%20star.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/yellow%20star.gif)
![](http://img.kapook.com/image/icon/yellow%20star.gif)
แม้ว่า คาเมเลี่ยน จะเชื่องช้าในลีลาท่วงท่าการเคลื่อนไหว ทว่าในเรื่องการกินแล้ว คามิเลี่ยน จะใช้ลิ้นยาว ๆ ของมันตวัดอาหาร หรือเหยื่ออันโอชะแบบรวดเร็วจนคุณกระพริบตาแทบไม่ทัน โดยอาหารที่ใช้เลี้ยง คามิเลี่ยน เป็นพวกแมลงตัวเล็ก ๆ เช่น จิ้งหรีดตัวเล็ก ๆ หนอน แมงเม่า ปลวก ฯลฯ โดยให้แมลงหรือตัวหนอน 2 ครั้งต่อวัน และคลุกกับวิตามินรวม 2 ครั้งต่อสัปดาห์
นอกจากนี้ สถานที่เลี้ยง กิ้งก่า คามิเลี่ยน ก็มีความสำคัญ ตามธรรมชาติมันจะอาศัยตามต้นไม้กิ่งไม้ เราจึงควรจัดสถานที่เลี้ยงให้เข้ากับระบบนิเวศน์ของมัน โดยหาต้นไม้ที่ค่อนข้างมีกิ่งพอควรแต่ไม่ต้องมีใบมากนัก
สำหรับกรงเลี้ยง คามิเลี่ยน ที่ดีควรมีขนาดอย่างน้อย 24 นิ้ว หรือ 48 นิ้ว โดยกรงควรจะมีทั้งความสูงและความกว้าง ทั้งนี้ ตู้ที่ใช้เลี้ยง คามิเลี่ยน ก็ทำจากวัสดุหลายประเภท ทั้งมุ้งลวดหรือกระจก การเลี้ยงในตู้กระจกมักจะใช้เลี้ยง คามิเลี่ยน ก่อนวัยเจริญพันธุ์ แต่ไม่สามารถระบายอากาศได้ดี ทำให้มีโอกาสเกิดความเครียดจนทำให้ กิ้งก่า คามิเลี่ยน ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ ดังนั้น ตู้กระจกจึงไม่เหมาะกับการเลี้ยงในระยะยาว เนื่องจากจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย ส่วนกรงมุ้งลวดนั้นนิยมใช้กันมาก เนื่องจากระบายอากาศได้ดี เคลื่อนย้ายได้ง่าย แต่ไม่สามารถกันฝนได้ ในกรณีที่เลี้ยงนอกบ้าน
ส่วนอีกหนึ่งสิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ แสง กิ้งก่า คามิเลี่ยน ต้องการแสงยูวี ในการดำรงชีวิต ดังนั้น ในกรงที่เลี้ยงด้านบนควรมีติดหลอดไฟไว้ด้วย เพราะ คามิเลี่ยน มักขึ้นมาอาบแดดในช่วงกลางวัน โดยอุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 30 - 35 องศาเซลเซียส ซึ่งผู้เลี้ยง คามิเลี่ยน ส่วนใหญ่นิยมใช้หลอดไฟ 60 วัตต์
อ้างอิง 1.http://pet.kapook.com/view5030.html
2.https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น